รายงานสภาวะอากาศ - หาดใหญ่ : อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

6.18.2553

การทาสีบ้านเก่า


หลังจากที่เราซื้อบ้านเก่ามาแล้ว ค่าใช้จ่ายบางอย่างที่สามารถประหยัดได้ก็จะมีในเรื่องของการทางสีบ้านด้วยตัวเองมาดูกันดีกว่าว่าการทาสีบ้านด้วยตัวเองมีเรื่องราวอะไรบ้าง

9 ขั้นตอนที่ควรรู้ในการทาสีบ้านใหม่

การรักษาบ้านให้ดูใหม่อยู่เสมอไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่รู้วิธีอย่างเช่น การเปลี่ยนสีสันของบ้านหรือเปลี่ยนเครื่องใช้เฟอร์นิเจอร์ ก็ทำให้บ้านดูสวยได้แล้ว เรามีคำแนะนำ 9 ข้อที่น่ารู้ในการทาสีให้ดูสดใสโดดเด่น...


1. เตรียมงบประมาณ อย่างแรกต้องคำนึงถึง เงิน ที่เราสามารถใช้จ่าย ว่าเรามีงบประมาณอยู่เท่าไหร่ซึ่งจะต้องรวมทั้ง
ค่าสี ค่าช่างทาสี รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ

2. ถามผู้เชี่ยวชาญ ในการทาสีบ้านเราต้องรู้ว่าเราจะทาสีลงบนพื้นผิวประเภทใด ผิวปูน หรือ ผิวไม้ ใช้ทาสีภายใน
หรือภายนอก หากเราไม่แน่ใจว่าจะใช้ ว่าจะใช้สีอะไรดี ควรจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สถาปนิก หรือช่างทาสี ซึ่งจะมี
คำแนะนำดี ๆ ในการใช้สีให้ถูกประเภท และลักษณะการใช้งาน

3. เลือกสี เมื่อสอบถามผู้เชี่ยวชาญจนแน่ใจในเรื่องการใช้สีให้ถูกต้องแล้ว เลือกสีที่ตัวเองชอบ ยิ่งเป็นสีทาภายในควรให้
กลมกลืนกับขอบประตู-หน้าต่าง ละถ้าพื้นผิวภายนอกเป็นปูนควรเลือกใช้สีที่มีคุณภาพสูงที่สามารถยืดอายุการใช้งาน
ให้นานปกป้องสีบ้านจากการซีดจางที่เกิดจากแสงแดด ทนทานต่อสภาวะอากาศต่อต้านการเกิดเชื้อรา ตะไคร่น้ำ รวมทั้ง
ไม่จับฝุ่นซึ่งจะทำความสะอาดได้ง่าย

4. เตรียมพื้นผิว ก่อนจะลงมือทาสีควร ทำความสะอาดฝุ่นละออง และใช้แปรงแซะสีเก่าที่หลุดลอกออกเช็ดให้สะอาด
แล้วปล่อยให้แห้งสนิท การเตรียมพื้นผิวที่ถูกต้องจะช่วยให้สีที่ทาติดนานยิ่งขึ้น

5. ทาสีรองพื้น การทาสีรองพื้นรก่อนจะช่วยยึดเกาะกับผนังได้ดีไม่หลุด
ออกง่าย ๆ เลือกสีรองพื้นชนิดที่เหมาะสมกับสภาพพื้นผิว เพราะสีรองพื้น
สำหรับพื้นที่ยังไม่เคยทาสีมาก่อน ควรใช้สีรองพื้นที่สามารถป้องกันด่าง
หรือการใช้สีรองพื้นสำหรับพื้นผิวเนื้ออ่อน และไม้เนื้อแข็งที่อาจมียางซึม
ออกมาได้ ควรทาสีรองพื้นที่สามารถกันยางและเชื้อรา

6. อุปกรณ์ทาสี แปรงทาสี และลูกกลิ้งมีความแตกต่างกัน แปรงทาสีสามารถ
เข้าได้ทุกซอกมุมของพื้นที่ที่ต้องการทา จึงเหมาะกับในกรณีที่เตรียมพื้นผิว
แบบหยาบ ๆ หรือผิวที่ไม่เรียบ การใช้แปรงทาจะทำให้สีสัมผัสกับผิวผนัง
ในซอกมุมต่าง ๆ ได้ดี ลูกกลิ้งเหมาะสำหรับการทาในพื้นที่กว้าง ๆ ซึ่งสามารถ
ทำให้การทาสีทำได้เร็วกว่า แต่ลูกกลิ้งจะใช้ปริมาณมากกว่าการทาด้วยแปรง

7. อุปกรณ์จำเป็นอื่น ๆ สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือผ้าปูผื้นกันเปื้อนเพื่อป้องกันสี
กระเด็นหรือตกหล่นพื้น บันได้สำหรับทาที่สูงและเพดาน ถาดผสมสี และ
อุปกรณ์ทำความสะอาดต่าง ๆ

8. เก็บรายละเอียด เมื่อทาเสร็จแล้ว ควรตรวจสอบหาข้อบกพร่อง เช่น สีที่ทาอาจจะไม่สม่ำเสมอกัน หรือยังไม่ได้ทาใน
ส่วนที่เป็นซอกเป็นมุม จากนั้นเก็บรายละเอียดของงานให้ละเอียดของงานให้เรียบร้อย เท่านี้ก็จะได้บ้านที่ดูใหม่ และ
สดใสขึ้นโดยไม่ต้องมีการตกแต่งอะไรให้สิ้นเปลือง

9. การเก็บรักษาสี หากใช้สีไม่หมดแต่เหลือจำนวนสีไม่มาก และอยากเก็บสีไว้ใช้ต่อครั้งหน้า ควรจะเทสีใส่กระป๋องที่มี
ขนาดเล็กปิดฝาให้แน่น เพื่อป้องกันการแข็งตัวของสีบนพื้นผิว




ประเภทของสีแบ่งตามพื้นผิวของวัสดุที่จะทาสีดังนี้

1. สีน้ำอะครีลิค หรือ สีน้ำพลาสติก เป็นสีที่ใช้ทาผนังปูนหรือ คอนกรีต ผ้าเพดาน ที่ทั้งประเภทที่ใช้ทาภายนอก และทาภายใน โดยสีสำหรับทาภายนอกจะมีราคาสูงกว่าสีทาภายใน แต่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า
2. สีน้ำมัน เป็นสีที่ใช้สำหรับทาเหล็ก และไม้
3. สีย้อมไม้ เป็ฯสีที่ใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ ทำให้เนื้อไม้มีสีที่เราต้องการ
4. สีเคลือบไม้ เป็นสีที่ใช้ทาพวกไม้ต่างๆ ให้เห็นลายธรรมชาติของไม้ เช่น พวกเล็คเกรอ์ เชลแล็ก เป็นพวกรักษาเนื้ือไม้
5. สีกันสนิม เป็นสีที่ใช้ทาเหล็ก จะทารองพื้นเพื่อกันสนิมก่อนทาสีจริง
6. สีรองพื้นผิวปูนใหม่หรือ ผิวปูนใหม่ หรือผิวปูนเก่า เป็นสีที่ใช้สำหรับเตรียมพื้นผิว ลดความเป็นกรด หรือด่างของผิวปูน ทำให้การยึดเกาะเมื่อทำการทาสีจริง หรือสีทับหน้าดียิ่งขึ้น


ส่วนประกอบของสีโดยทั่วไปจะประกอบด้วย

1. สารยึดเกาะหรือ อะครีบิคซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของสี
2. ผงสีซึ่งจะทำให้เกิดความสวยงาม
3. ตัวทำละลายซึ่งจะเป็นตัวทำละลายทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4. สารปรุงแต่งต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับปรับปรุงคุณภาพสี เช่น สารกันบูด สารกันเชื้อรา


โดยทั่วไปจะแบ่งเกรด หรือคุณภาพของสีดังต่อไปนี้

เกรด A เป็นสีที่มีอะครีลิค 100% ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากทางยุโรป การรับประกันจะอยู่ประมาณ 5-10 ปี มักใช้ทาภายนอก โดยเฉพาะอาคารสูง หรือบ้านที่มีราคาแพง
เกรด B เป็นสีที่มีอะครีลิค 100% ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากทางแถบเอเซีย การรับประกันะอยู่ประมาณ 3 -5 ปี มักใช้ทาภายนอก หรือ ภายใน
เกรด C เป็นสีที่การผสมสารปรุงแต่ง 30% และมีอะครีลิค 70% การรับประกันจะอยูที่ประมาณ 1 – 2 ปี มักใช้ทั้งทาภายนอก และภายใน
เกรด D จะเป็นสีที่มีการผสมสารปรุงแต่งมากกว่า 30%


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Rasa Property Development


สีที่ใช้สำหรับงานปูน ได้แก่ สีทารองพื้นและสีจริง แตกต่างกันอย่างไร มีคำอธิบายครับ

1.สีทารองพื้น มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันครับ ได้แก่
- สีทารองพื้นชนิดที่ทำจากอะคริลิก ซึ่งจะช่วยป้องกันเชื้อราใช้ทารองพื้นผนังปูนฉาบทั่วๆ ไป
ก่อนทาควรผสมน้ำเจือจางประมาณ 20% ของสี
- สีทารองพื้นชนิดที่ทำมาจากอัลคาไล สีชนิดนี้นอกจากจะป้องกันเชื้อราได้ดีแล้ว
ยังป้องกันความชื้นได้ดีกว่าสีทารองพื้นชนิดที่ทำจากอะคริลิก
การใช้งานกับบ้านเก่าควรเลือกสีประเภทนี้ ชนิดรองพื้นปูนเก่า ผสมน้ำ 20% ทารองพื้นก่อนทาสีจริง

2.สีจริง หรือที่เราเคยได้ยินกันติดหูว่าสีน้ำพลาสติกนั่นล่ะครับ สีพวกนี้ทำมาจากสารจำพวกลาเท็กซ์และอะคริลิก
มีการยึดเกาะและยืดหยุ่นที่ดี มีส่วนผสมที่สามารถต่อต้านเชื้อราเหมาะกับสภาพอากาศเมืองร้อนอย่างบ้านเรา
ทำความสะอาดง่ายก่อนใช้ควรผสมน้ำให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสมตามที่ผู้ผลิตสีแนะนำไว้ (ข้างกระป๋องไงครับ)

การเตรียมพื้นผิว

ผิวปูน : หากเป็นผนังปูนใหม่ต้องรอให้ผนังแห้งดีเสียก่อนแล้วใช้กระดาษทรายลูบ
เพื่อให้เม็ดทรายหรือคราบน้ำปูนหลุดออก ก่อนทาทับด้วยสีรองพื้น และสีจริงตามลำดับ
หากเป็นผนังเก่าให้ตรวจดูสภาพหากชำรุดมากให้ทำการล้างและขัดออกด้วยแปรงลวด
จากนั้นอุดโป้วรอยร้าวก่อนทำการขัดด้วยกระดาษทราย ทารองพื้นด้วยสีรองพื้นปูนเก่า 1 ครั้งและสีจริง 3 ครั้ง

ก็เป็นอันพอจะรู้ขั้นตอนต่างๆ ของการทาสีกันบ้างแล้วนะครับ
สำหรับท่านใดที่ไม่มีเวลาแต่อยากเปลี่ยนบ้านหลังเก่าของคุณให้ดูใหม่ก็จ้างช่างครับ
แต่เตือนกันไว้สักเล็กน้อยครับ ช่างบางคนตบตาเจ้าของบ้านเพราะความขี้เกียจ เช่น
การเตรียมผิวไม้ต้องขัดกระดาษทรายให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงทาสี
ช่างบางคนแอบใช้สีพลาสติกทาทับอุดรอยเสี้ยนไม้ไปเลย รอจนแห้งแล้วใช้สีน้ำมันทาทับ
ดูว่างานสีน้ำมันค่อนข้างเรียบร้อยแต่นานไปจะเกิดการแตกและหลุดร่อนออกมาต้องรื้องานมาซ่อมกันใหม่ภายหลัง
แบบนี้ไม่ดีแน่ หากมีเวลาแอบดูวิธีการทำงานของช่างบ้าง ก็จะดีนะครับ